Background



ภาพกิจกรรม
กองการศึกษา อบต.เกาะสาหร่าย จ.สตูล ร่วมสืบสาน “ประเพณีลอยเรือ” ในโครงการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จังหวัดสตูล สืบสานประเพณีลอยเรือชาวเล ประจำปีงบประมาณ 2566
87
6 พฤษภาคม 2566

          เมื่อวันที่ (4 พ.ค. 66) ที่บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล นายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จังหวัดสตูล สืบสานประเพณีลอยเรือชาวเล ประจำปีงบประมาณ 2566 ตามความเชื่อเพื่อการลอยบาป และเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพ การลอยเรือจะทำปีละสองครั้ง โดยทำในเดือน 6 และในเดือน 12 ซึ่งประกอบด้วย พิธีบูชาดวงวิญญาณโต๊ะฆีรีและบรรพบุรุษ , ขบวนแห่ไม้เสาเอกและไม้ระกำ , การต่อเรือไม้ระกำ "ปราฮูปาจั๊ก” และพิธีลอยเรือปาจั๊ก , การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวเล (รองเง็ง) และการสาธิตภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นถิ่นชาวเล โดยมีสมาชิกสภาฯ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย , ผู้กำกับกองบังคับการตำรวจน้ำเกาะหลีเป๊ะ , ผู้กำกับสถานีตำรวจเกาะหลีเป๊ะ , ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ , ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสาหร่าย (เกาะหลีเป๊ะ) , นายกสมาคมผู้ประกอบการเกาะหลีเป๊ะ ตลอดจนหัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเล เกาะหลีเป๊ะ , ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7-8 , ประชาชนทั่วไป , นักท่องเที่ยว และพี่น้องชาวเล เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
          การลอยเรือ เป็นประเพณีของชาวเล (ชาวน้ำ) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอาดัง และเกาะหลีเป๊ะ ในเขตอำเภอเมืองสตูล ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของมลายู และได้อยู่อาศัยบริเวณหมู่เกาะแถบนี้เป็นเวลาหลายร้อยปี ชาวเลมีนิสัยชอบอยู่เป็นอิสระ ไม่ชอบคบค้าสมาคมกับชนกลุ่มอื่น ชอบรวมอยู่เป็นพวกเดียวกัน มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปหากินไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีแบบแผนประเพณีและภาษาของตนเอง เดิมเป็นชนที่ไม่มีศาสนา เชื่อในเรื่องผีสางวิญญาณ และยังเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีลอยเรือนี้ให้มีสืบไป